พิพิธภัณฑ์เอกชน
ช้างเอราวัณโลหะ
ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
เพื่อสันติภาพ
และมวลมนุษยธรรม
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ คือ วิธีการเรียนรู้ทางศิลปะและศาสนา ที่ส่งเสริมให้คนในทวีปเอเชียรู้จัก หลักแห่งศาสนาทั้ง ๔ ด้วยเจตนารมณ์และอุดมคติของคุณเล็ก วิริยะพันธุ์ ซึ่งถ่ายทอดและปลูกฝังด้วยจิตวิญญาณของนักปราชญ์ เพื่อให้มนุษย์ร่วมโลกรู้จักศิลปะและศาสนาอันเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันออก
ตำนานและคติความเชื่อ เกี่ยวกับพระอินทร์ และช้างเอราวัณผู้พิทักษ์ พระพุทธศาสนา
ในคติทางพุทธศาสนา มักเรียกพระอินทร์โดยทั่วไปในชื่อท้าวสักกะหรือ
ท้าวศักระ เป็นผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะนั้นในบางครั้งมักถูกเรียกด้วยชื่อ “อินทระ” หรือในชื่อที่เรียกขานทั่วไปอีกชื่อว่า “เทวานัม อินทระ” อันหมายถึง “จอมเทพ” หรือ “หัวหน้าแห่งเทพทั้งหลาย” (สันสกฤต: อินฺทฺร, บาลี: อินฺท) ส่วน ช้างเอราวัณ นั้น เรียกใน ภาษาสันสกฤตว่า ไอราวต หรือ ไอราวณ ภาษาบาลี เรียกว่า เอราวณ ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า ไอราพต ไอราวัต ไอราวัณ และเอราวัณ ชื่อต่างๆ ทั้งหมดนี้มีความหมายถึง น้ำ เมฆฝน รุ้ง แปลรวมว่ากลุ่มก้อนเมฆที่มีฟ้าแลบ และทำให้เกิดฝนตก โดยมีความสอดคล้องที่ว่า พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่องเที่ยวไปบนสวรรค์ แล้วทรงโปรยฝนให้ตกลงมายังโลก
เจตนารมณ์
“วัฒนธรรมไทยได้จำเริญอยู่คู่เคียงกับไทยโบราณมาอย่างสืบเนื่อง และหากสามารถรักษาไว้สืบไป ด้วยภูมิปัญญา และความเข้าใจอันถ่องแท้แล้ว ก็จะทำให้ปัจจุบัน และอนาคตของเรากอปรด้วย ความหมาย ที่ทรงคุณค่า มิเสื่อมคลายคำถามมีอยู่ว่า เหตุใดวัฒนธรรมอันดีงามยิ่งใหญ่ไพศาลนี้ ถึงเสื่อมถอยลงได้เล่า
๑
ชั้นสุวรรณภูมิ
๓
ชั้นจักรวาล
๒
ชั้นโลกมนุษย์
๓
ชั้น
อาคารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ จัดแบ่งพื้นที่หลักออกเป็นสามส่วน ซึ่งได้แนวคิดมาจาคัมภีร์ไตรภูมิกถา ที่แบ่งภพภูมิ เป็นสามส่วนสำคัญ คือ บาดาล โลกมนุษย์ และสวรรค์ การจัดแบ่งพื้นที่สามส่วนของอาคารพิพิธภัณฑ์ ชั้นล่างสุดเป็นใต้ดินหรือบาดาล เรียกชื่อชั้นนี้ว่า “ชั้นสุวรรณภูมิ” ลำดับที่สองเป็นส่วนอาคารที่รองรับตัวช้างคือ “ชั้นโลกมนุษย์” และชั้นสามคือส่วนในตัวช้างเป็นส่วนที่อยู่เหนือโลกมนุษย์ขึ้นไปตามคติในไตรภูมินั้นคือสรวงสวรรค์ ส่วนนี้ เรียกชื่อชั้นว่า “ชั้นจักรวาล”
เส้นทาง
แสวงบุญ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณได้จัดเส้นทางแสวงบุญเที่ยวชมและสักการะเจดียสถาน รวมถึงรูปเคารพต่างๆ เพื่อเป็นกิริยาบุญบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ตามคติทั้งในพระพุทธศาสนาและพราหมณ์ – ฮินดูที่คนในสังคมไทยได้นำมาเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจอันมุ่งหวังให้เกิดสิริมงคลแก่การดำเนินชีวิต จุดสักการะในเส้นทางแสวงบุญโดยรอบของอาคารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
ข่าวสาร
การเดินทาง
ช้างเอราวัณโลหะ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
99/9 หมู่1 ตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ
จังหวัดสมุทรปราการ 10270
เบอร์ติดต่อ 02-371-3135-6
เปิดบริการทุกวัน
เวลาเปิด – ปิด : 09.00 – 18.00 น.
ปิดจำหน่ายบัตรเวลา 17.00 น.
วิธีการเดินทาง ด้วยรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว
- ลงที่ สถานีช้างเอราวัณ E17 ออกทางออกที่ 2
อ่อนนุช
บางจาก
ปุณณวิถี
อุดมสุข
บางนา
แบริ่ง
สำโรง
ปู่เจ้า
ช้างเอราวัณ